วันอาทิตย์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2552

นิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา

นิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษาในวันที่ 22 กันยขายน 2551 ก่อนหน้าหนึ่งวันนักศึกษาทั้ง สามสถาบันต่างมาช่วยกันจัดสถานที่และเตียมการแสดงในงาน พอถึงวันงานทุกคนต่างรู้หน้าที่ของตนเองว่าต้องทำอะไรเช่น นักศึกษาของสวนดุสิตต้องมีการละครให้เด็ก ๆ ดูต่างพากันจัดเตรียมกันเป็นอย่างดี ในวันนั้นผู้ช่วยได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดและเดินชมผลงานของนักศึกษารอบ ๆบริเวณงานแสดงและชมการแสดงละครของนักศึกษาสวนดุสิต ในวันนั้นอาจารย์จินตนา ได้ไปดูนิทรรศการแสดงผลงานของพวกเราด้วยและได้ถ่ายภาพร่วมกัน

ทัศนศึกษา

เด็กๆ ได้ไปทัศนศึกษาที่สวนสัตว์เด็กทุกคนตื่นเต้นและดีใจมากก่อนออกเดินทางต่างพากันพูดคุยถึงเรื่องสัตว์ชนิดต่าง ๆที่ตนเคยเห็นมา เมื่อไปถึงก็พากันไปดูสัตว์ต่างและไปดูโชว์ลิงต่อยมวย เด็กสนุกสนานกันมากเมื่อถึงเวลากลับเมื่อขึ้นรถได้ต่างพากันหลับกันเป็นแถวอาจเป็นเพราะวันนี้เด็ก ๆ คงจะสนุกและเหนื่อยมาก

วันไหว้ครู

ในวันไห้วครูพวกเราและนักศึกษาจากบ้านสมเด็จได้ร่วมกับทำพานไห้วครูจากดอกไม้สด และในวันจริงเราและบ้านสมเด็จได้ส่งตัวแทนไปถือพานร่วมในพิธี








โครงการ ข้าวแสนดี
ครูประจำชั้น คุณครูไพฑูรย์ ธนูรัตน์
นักศึกษาฝึกสอน นางสาววนาเนตร อนุรารักษ์
ชั้นเรียน อนุบาลปีที่ 1 / 2 (อายุ 4-5ปี)
จำนวนนักเรียน 31 คน
ระยะเวลา 28 กรกฏาคม 2551 - 8 สิงหาคม 2551

บทสรุปโครงการ

ระยะที่ 1 เริ่มโครงการ
ในวันเริ่มต้นโครงการ น้องหมีพูนั้งอ่านหนังสือนิทานเกี่ยวกับข้าวน้องรชานนท์บอกว่า “ชาวนาใช้ควายไถนา” น้องซารีฟบอกว่า “มีควายเหล็กไถนาด้วย” น้องหมีพูนำหนังสือนิทานมาถามคุณครูว่า “ตัวที่ยืนอยู่ในนาเรียกว่าอะไร” ครูสังเกตเห็นว่าเด็กให้ความสนใจเกี่ยวกับการข้าวและการทำนาปลูกข้าว เด็กๆและครูจึงตกลงกันว่า เรียนเรื่อง “ข้าว” พร้อมทั้งให้เด็กไปพูดคุยชักถามคุณพ่อคุรแม่ที่บ้านเกี่ยวกับเรื่อง “ข้าว” และให้นำข้าวชนิดต่าง ๆ มาในวันรุ่งขึ้น
หลังจากนั้นเด็ก ๆ ได้ถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากคุณพ่อคุณแม่ให้เพื่อน ๆ ฟังและถ่ายทอดออกมาโดยการวาดภาพที่สอดคล้องกับประสบการณ์เดิมของตน และช่วยกันตั้งคำถามในสิ่งที่เด็กอยากรู้เกี่ยวกับ “ข้าว” ครูจึงชักชวนเด็ก ๆ เลือกคำถาม และนำคำถามมาจัดระบบในรูปแบบของแผนภูมิใยแมงมุม


ระยะที่ 2 พัฒนา
ในระยะนี้เด็กๆ ช่วยกันคิดกิจกรรมและแบ่งกลุ่มกันค้นคว้าหาคำตอบด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยบูรณาการหลายๆ ทักษะเข้ามาใช้ เพื่อตอบสนองต่อการเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ ครูและเด็กได้มีการวางแผนร่วมกันในการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ปลูกข้าว ทำหุ่นไล่กา วาดสีเทียน วาดสีน้ำ ประดิษฐ์เคียวเกี่ยวข้าว ติดปะรวงข้าว บิดกระดาษหนังสือพิมพ์เป็นต้นข้าว ตัดปะภาพอาหารที่ทำจากข้าวจากหนังสือพิมพ์และโบชัวร์ เล่นเกมการศึกษา เล่นเกมการละเล่นงูกินหาง รีรีข้าวสาร ตักข้าวใส่ขวด
ประกอบอาหารที่ทำจากข้าวเช่น ข้างผัด ขนมบัวลอย เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องอาหารที่ทำจากข้าว เคลื่อนไหวประกอบอุปกรณ์เคียวเกี่ยวข้าว เป็นต้น

ระยะที่ 3 สรุป
เมื่อเด็กๆ ได้ทำกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับ “ข้าว” และได้คำตอบในสิ่งที่เด็กอยากรู้จนครบแล้ว คุณครูและเด็ก ๆ จึงมาทบทวน สนทนา อภิปรายร่วมกันในเรื่องของกิจกรรมและความรู้ที่ได้รับตลอดโครงการโดยตกลงกันว่า จะจัดในรูปของนิทรรศการ แบ่งความรับผิดชอบให้กับเด็กทุกๆ คน เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับพ่อแม่ผู้ปกครอง และเพื่อน ๆ ต่างห้อง โดยจัดทำบัตรเชิญชมนิทรรศการ ซึ่งสรุปโดยภาพรวมแล้ว โครงการข้าวแสนดีสามารถสะท้อนแนวคิดหลักการ และ กระบวนการของลักษณะการเรียนการสอนในรูปแบบโครงการ(Project approach) ได้สมบูรณ์เป็นที่ประทับใจของผู้ปกครอง ครู และนักเรียนที่เข้าชมนิทรรศการ ลัเด็กยังสามาร๔นำเอาประสบการณ์ตรงจากการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของโครงการ “ข้าวแสนดี” ไปใช้ใหเกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้



*************



รายละเอียดโครงการ

ระยะที่ 1 ระยะเริ่มโครงการ

วันที่ 1 ( วันที่ 28 กรกฏาคม 2551 )

ในวันเริ่มต้นโครงการ น้องหมีพูนั้งอ่านหนังสือนิทานเกี่ยวกับข้าวน้องรชานนท์บอกว่า “ชาวนาใช้ควายไถนา” น้องซารีฟบอกว่า “มีควายเหล็กไถนาด้วย” น้องหมีพูนำหนังสือนิทานมาถามคุณครูว่า “ตัวที่ยืนอยู่ในนาเรียกว่าอะไร” ครูสังเกตเห็นว่าเด็กให้ความสนใจเกี่ยวกับการข้าวและการทำนาปลูกข้าว เด็กๆและครูจึงตกลงกันว่า เรียนเรื่อง “ข้าว” พร้อมทั้งให้เด็กไปพูดคุยชักถามคุณพ่อคุรแม่ที่บ้านเกี่ยวกับเรื่อง “ข้าว” และให้นำข้าวชนิดต่าง ๆ มาในวันรุ่งขึ้น

วันที่ 2 ( วันที่ 29 กรกฏาคม 2551 )

เด็ก ๆ และท่านผู้ปกครองได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ช่วยกันหาสือที่เกี่ยวข้องกับข้าวมา เช่น ข้าวสารชนิดต่าง ๆ อาหารที่ทำจากข้าวนานาชนิด ฯลฯ ให้เด็ก ๆ นำมาโรงเรียน มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์และช่วยกันเล่าเรื่อง ข้าว

น้องหมีพู “ที่บ้านของเรามีข้าวกล้อง แม่ทำให้เรากินทุกวันเลย แม่เราบอกว่าให้
เอาข้าวกล้องมาให้เพื่อน ๆ ดูกัน”
น้องแจง “คุณพ่อบอกเล่าว่าที่บ้านของปู่เราทำนามีควายไถนาด้วย”
น้องเกม “ที่บ้านของเรามีรูปคนกำลังทำนาด้วย”
หลังจากนั้นเด็ก ๆ ได้เคลื่อนไหวร่างกายประกอบคำบรรยาย โดยเด็ก ๆ ได้ทำท่าทางประกอบคำบรรยายาอย่างสนุกสนาน และวาดภาพเกี่ยวกับข้าวที่เด็ก ๆ รู้จักประสบการณ์เดิมที่เด็ก ๆ เคยพบเห็นและนำมาเล่าให้คุณครูและเพื่อน ๆ ฟัง ซึ่งเป็นการเล่าประสบการณ์ตรงของเด็กที่สือออกมาเป็นภาพวาด ( บูรณาการกับกลุ่มวิชา ศิละปะ และภาษาไทย )





ระยะที่ 2 ระยะพัฒนา

วันที่ 3 ( วันที่ 31 กรกฏาคม 2551 )

เมื่อเข้าสู่กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ให้เด็ก ๆ ได้ทดลองปลูกข้าวในถ้วยโฟม เพื่อศึกษาการเจริญเติบโตของต้นข้าว โดยดูการสาธิตการปลูกข้าวจากคุณครูก่อนแล้วจึงลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง โดยเริ่มตั้งแต่การตักดินใส่ถ้วย แล้วนำเมล็ดข้าวเปลือกโรยลงในดิน และรดน้ำ แล้วนำไปวางไว้ที่ข้างหน้าต่าง

วันที่ 5 ( วันที่ 1 สิงหาคม 2551 )

ในวันนี้เด็ก ๆตื่นเต้นกันเป็นพิเศษ เพราะวันนี้มีการประกอบอาหารที่ทำจากข้าว
เมื่อเข้าสู่กิจกรรมเสริมประสบการณ์เด็ก ๆ ตั้งใจกันเป็นพิเศษ คุณครูได้บอกส่วนผสมในการทำขนมบัวลอย เมื่อถึงขั้นตอนการทำแป้งบัวลอยคุณครูได้ให้เด็ก ๆ อาสมัคออกมาช่วยในการเทส่วนผสมต่าง ๆ ลงในกะละมัง โดยคุณครูเป็นผู้นวดผสมแป้ง เมื่อคุณครูนวดแป้งจนเข้ากันได้ที่ คุณครูได้แบ่งเด็ก ๆ ออกและให้นั้งเป็นกลุ่มรอเพื่อที่คุณครูจะนำถาดและแป้งที่นวดได้ที่ไปแบ่งให้เด็ก ๆ ได้ช่วยกันปั้นเม็ดบัวลอย เมื่อปั้นเสร็จเด็กช่วยกันนำไปต้มให้สุกในน้ำเดือด โดยให้เด็ก ๆ สังเกตเม็ดบัวลอยที่ลอยขึ้ยมาอยู่บนพิวน้ำให้เด็ก ๆ ใช้กระชอนตักออกใส่ในน้ำเย็น คุณครูตั้งน้ำกระทิไว้รอให้เด็กๆ อีกส่วนหนึ่งตักเม็ดบัวลอยที่อยู่ในน้ำใส่ในน้ำกระทิ เมื่อบัวลอยสุกและปรุงรสชาติเสร็จแล้วเด็ก ๆ ได้ร่วมกันรับประทานขนมบัวลอยฝีมือของตนเองอย่างอร่อย


วันที่ 8 ( วันที่ 6 สิงหาคม 2551 )

ในวันนี้ได้เชิญผู้ปกครองมาเป็นวิทยากรณ์ในการประกอบอาหารที่ทำจากข้าว โดยในวันนี้คุณพ่อและคุณแม่ของน้องมนัสนัน ได้เตรียมส่วนผสมในการผัดมักกระโรนีมาให้เด็ก ๆ ได้ทานกัน คุณพ่อคุณแม่ช่วยกันบอกส่วนผสมให้เด็ก ๆ ได้รู้และสาธิตการทำผัดมักโรนีโดยให้เด็ก ๆ ออกมามีส่วนร่วมโดยการให้เด็ก ๆ ช่วยหยิบของ ช่วยผัดในบางครั้ง เมื่อทำเสร็จเด็ก ๆ ร่วมกันรับประทานผัดมักโรนีอย่างอร่อย และคุณครูจูนได้มอบของที่ระลึกให้กับคุณพ่อคุณแม่ที่มาเป็นวิทยากรณ์ให้ความรู้กับเด็ก ๆ


ระยะที่ 3 ระยะสรุปโครงการ

วันที่ 9 ( วันที่ 7 สิงหาคม 2551 )

ในวันนี้ในกิจกรรมเสิรมประสบการณ์คุณครูได้ทบทวนความรู้เกี่ยวกับข้าวให้กับเด็ก ๆ
และร่วมกันวางแผนและแบ่งหน้าที่ให้เด็ก ๆ ทุกรับผิดชอบในการจัดนิทรรศการในวันที่ 8 สิงหาคม 2551 โดยให้เด็ก ๆ ช่วยกันจัดสถานที่ โดยการจัดเป็นโต๊ะให้ความรู้กับเพื่อน ๆ ห้องต่าง ๆ และให้เด็กนำอาหารที่ทำจากข้าวมาจัดแสดงให้เพื่อน ๆ ดู

วันที่ 10 ( วันที่ 8 สิงหาคม 2551 )

ในวันนี้เป็นวันจัดนิทรรศการแสดงผลงานเกี่ยวกับโครงงานเรื่อง “ข้าวแสนดี”
เด็ก ๆ ต่างตื่นเต้นมากันแต่เช้า มาเตรียมตัวในการแสดงผลงานโครงงานเรื่อง “ข้าวแสนดี” พอถึงเวลามีผู้ปกครอง เพื่อน ๆ และคุณครูห้องต่าง ๆ มาชมงาน เด็ก ๆ ประจำโต๊ะต่างอธิบายและตอบคำถามที่เพื่อน ๆ ถามได้ ในงานได้มีการจัดเตรียมข้าวต้ม อาหารที่ทำจากข้าวไว้ให้ผู้มาชมได้รับประทาน

บทคัดย่องานวิจัย

บทคัดย่อ
เรื่อง การศึกษาผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญา
ของเด็กอนุบาล 1/2โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
ชื่อผู้วิจัย วนาเนตร อนุรารักษ์
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ จินตนา สุขสำราญ


บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายสำคัญ เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาต่อระดับพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กนักเรียนชั้นอนุบาล 1/2 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการโดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 31 คน เพื่อจัดกิจกรรมการเล่นเกมการศึกษา เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 30
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสังเกตพฤติกรรมขณะเล่นเกมการศึกษาที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา โดยใช้เกมการศึกษาจำนวน 5 ชุด เป็นสื่อในการจัดกิจกรรม ได้แก่ ชุดที่ 1เกมจัดหมวดหมู่ ชุดที่ 2 เกมภาพตัดต่อ ชุดที่ 3 เกมเรียงลำดับ ชุดที่ 4 เกมจับคู่ ชุดที่ 5 เกมหาความสัมพันธ์ ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง (By Yourself) วิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับระดับพัฒนาการทางสติปัญญาหลังการเล่นเกมการศึกษา โดยการทดสอบสมมุติฐาน การหาค่าเฉลี่ย ( )
ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาต่อพัฒนาการทางด้านสติปัญญาของเด็กอนุบาล 1/2 โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 1/2 เมื่อได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาครบทั้ง 5 ชุด เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 1/2 มีระดับคะแนนเฉลี่ย 406 คิดเป็นร้อยละ 82 จากการจัดกิจกรรมเกมการศึกษามีผลต่อระดับพัฒนาการทางสติปัญญาสูงกว่าเกณฑ์ (ร้อยละ 80 ตามเกณฑ์มาตรฐาน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001